Linksys E9450 : การติดตั้ง Easy Mesh ด้วยแท็บเล็ต/สมาร์ทโฟน
การรีเซ็ทเครื่อง และ เตรียมตั้งค่า
จัดเตรียมสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตสำหรับการตั้งค่า E9450 (สามารถใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android) หากสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตของผู้ใช้งานมีการเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi อยู่ ให้ทำการยกเลิกการเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi (จะต้องไม่มีเครื่องหมายถูกขึ้นที่ชื่อสัญญาณ Wi-Fi)
- เตรียมตั้งค่า
- นำ E9450 เสียบปลั๊ก และ เปิดเครื่อง จากนั้นรอบูทเครื่องประมาณ 1-2 นาที
- ไม่เชื่อมต่อสายแลนใดๆ กับ E9450 ไม่ว่าจะเป็นพอร์ต Internet หรือ Ethernet
- กดปุ่ม Reset ด้านหลังเครื่องค้างไว้ 10 วินาที จากนั้น รอบูทเครื่องประมาณ 1-2 นาที
- นำโน้ตบุคเชื่อมต่อสายแลนกับ E-series พอร์ต Ethernet 1-4 (พอร์ตใดก็ได้) จากนั้นตัดการเชื่อมต่อ Wi-Fi บนโน้ตบุ๊ก -> ข้ามไปข้อ 6
- ในกรณีที่ไม่ต้องการเชื่อมต่อด้วยสายแลน ให้ทำการเชื่อมต่อ Wi-Fi กับ E-series โดยชื่อและรหัสผ่าน Wi-Fi จะแสดงอยู่ใต้ตัวเครื่อง
- จากนั้นทำการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตของคุณด้วยชื่อและรหัสผ่านดังกล่าว (ชื่อ Wi-Fi จะแตกต่างกันไปในแต่ละอุปกรณ์)
- ตรวจสอบสถานะการเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi ว่าถูกต้องหรือไม่ ตรวจสอบโดยดูว่าสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตของเราได้รับที่อยู่ IP หรือไม่ หากมีการแสดงที่อยู่ IP หมายความว่าทำการเชื่อมต่อถูกต้อง หากไม่ที่อยู่ IP ให้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์ใหม่อีกครั้ง
- จากนั้นทำการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตของคุณด้วยชื่อและรหัสผ่านดังกล่าว (ชื่อ Wi-Fi จะแตกต่างกันไปในแต่ละอุปกรณ์)
- เปิด Internet Browser จากนั้นเข้าไปที่ URL 192.168.79.1
- กรอกค่า Username ‘admin’ และ Password ‘admin’ จากนั้นกด นำไปใช้
- ตั้งค่าเบื้องต้น – โหนดแรก
- เริ่มทำการติดตั้งด้วยการกด ต่อไป
- ระบบให้คุณตั้งค่า Router Password ใหม่ จากนั้นกด ‘ต่อไป’ โดยมีเงื่อนไขว่า
- มีความยาวรวม 10 ตัวอักษร หรือ ตัวเลข เป็นอย่างน้อย
- มีตัวอักษรพิมพ์ใหญ่อย่างน้อย 1 ตัว
- มีตัวอักษรพิมพ์เล็กอย่างน้อย 1 ตัว
- มีตัวเลขอย่างน้อย 1 ตัว
- มีตัวอักษรพิเศษอย่างน้อย 1 ตัว
- ในการติดตั้ง E9450 โหนดแรกนี้ให้เลือก ‘Parent Node’
- ทำการเลือกภูมิภาคกำลังส่งสัญญาณ Wi-Fi เป็น ‘Asia – Thailand’ จากนั้นกด ’ต่อไป’
- ทำการตั้งค่าชื่อ Wi-Fi (Wi-Fi Name) และ รหัสผ่าน (Wi-Fi Password) [รหัสผ่านควรเป็นรหัสผ่านที่ยากเพื่อป้องกันการเดาได้ง่าย] ที่คุณต้องการ จากนั้นกด ’ต่อไป’
- รอบันทึกค่าเป็นเวลา 90 วินาที
- ระบบจะเรียกร้องให้คุณทำการเชื่อมต่อ Wi-Fi บนโน้ตบุคไปยัง Wi-Fi ใหม่ที่คุณเพิ่งทำการตั้งค่าไปเมื่อสักครู่ เมื่อทำการเชื่อมต่อเสร็จเรียบร้อยให้ทำการกด ‘ต่อไป’
- ยินดีด้วย! คุณได้ทำการติดตั้ง E9450 โหนดแรกเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย
- เริ่มทำการติดตั้งด้วยการกด ต่อไป
- ตั้งค่าเบื้องต้น – โหนดที่สอง
- ระบบจะสอบถามว่าคุณมีโหนดที่สองที่ต้องการติดตั้งต่อหรือไม่
- หากมีให้ตอบ ‘ใช่’ และอ่านต่อข้อ 2
- หากไม่มีให้ตอบ ‘ไม่ เสร็จแล้ว’ และ ข้ามไปอ่านข้อ [ 4 การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต] ได้ทันที
- นำ E9450 โหนดที่สองเสียบปลั๊กและรอประมาณ 90 วินาที จนกว่าสีไฟสถานะ LED ของ Wi-Fi จะเป็นสีฟ้า
- กดปุ่ม WPS ด้านหลังตัวเครื่อง E9450 โหนดที่สองค้างไว้ 3 วินาที
- รอบันทึกค่าเป็นเวลา 90 วินาที
- ยินดีด้วย! คุณได้ทำการติดตั้ง E9450 โหนดที่สองเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย
- ระบบจะสอบถามว่าคุณมีโหนดอื่นที่ต้องการติดตั้งต่อหรือไม่
สำหรับคู่มือนี้จะขอยุติตัวอย่างขั้นตอนการเพิ่มโหนดไว้เพียงเท่านี้ ให้ตอบ ‘ไม่ เสร็จแล้ว’ สำหรับขั้นตอนนี้
ถ้าต้องการเพิ่มโหนดอื่นอีกให้เลือก ‘ใช่’ และทำตามขั้นตอน [3. ตั้งค่าเบื้องต้น – โหนดที่สอง : ข้อ 2] ซ้ำ - เสร็จสิ้นการเชื่อมต่อ EasyMesh
- ระบบจะสอบถามว่าคุณมีโหนดที่สองที่ต้องการติดตั้งต่อหรือไม่
- การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
- [Router Mode] หากคุณทำการเชื่อมต่อ E9450 มาจากเราท์เตอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต คุณสามารถเริ่มต้นใช้งาน E9450 ได้ทันที ให้เลือก ‘I’m done’ -> ข้ามไปข้อ 13
- [PPPoE Mode] หากคุณทำการเชื่อมต่อ E9450 มาจากโมเด็ม หรือ เราท์เตอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่มีการตั้งค่าเป็น Bridge โดยคุณจะต้องสอบถามค่า PPPoE ต่างๆ ที่จำเป็นจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตและแจ้งความประสงค์ที่จะใช้งานในโหมดนี้ ก่อนทำการตั้งค่า — ถ้าหากพร้อมแล้ว กรุณาเลือก ‘ตรวจสอบเฟิร์มแวร์ล่าสุดทันที’
- ระบบจะนำคุณมายังหน้า ‘ทั่วไป’
- กดเลือก ‘การตั้งค่าอินเทอร์เน็ต> Manual’ จากนั้นกด นำไปใช้
- ทำเครื่องหมายถูกในช่อง ‘ลบ’ ดังรูป จากนั้นกดปุ่ม ‘ลบ’
- คุณจะเห็นว่า Profile ที่มีอยู่ได้หายไป ให้คุณกด ‘เพิ่ม’
- เลือกประเภทการเชื่อมต่อเป็นแบบ ‘PPPoE (พร้อมชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ที่ได้มาจากผู้ให้บริการ)
- หากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตของคุณจำเป็นต้องใช้หมายเลข VLAN ID ในการเชื่อมต่อ ให้กรอก
- 1P Priority (0-7) เป็นเลข 0
- 1Q VLAN ID (0-4094) เป็นเลข VLAN ที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตต้องการให้คุณใช้
- หากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตของคุณไม่จำเป็นต้องใช้หมายเลข VLAN ID ให้ปล่อย 1P และ 802.1Q ทั้งสองช่องเป็น -1 ตามค่าโรงงาน
- เมื่อเสร็จสิ้นให้กด ‘ต่อไป’
- ทำการกรอกค่า ชื่อผู้ใช้ PPPoE และ รหัสผ่าน PPPoE ที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตให้คุณมา จากนั้นเลื่อนลงมากด ‘ต่อไป’
- ระบบจะให้คุณกรอก การกำหนดค่าเซิฟร์เวอร์ DNS ซึ่งไม่จำเป็นต้องกรอก ให้เลื่อนลงมากด ‘ต่อไป’ ได้เลย
- ระบบจะแสดงข้อมูลทั้งหมดในการตั้งค่า ให้กด ‘นำไปใช้/บันทึก’
- คุณจะสังเกตุได้ว่า โปรไฟล์ ของคุณได้ถูกเพิ่มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- ระบบจะทำการเชื่อมต่อกับชุมสายของคุณโดยใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที คุณสามารถเช็คสถานะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ที่เมนู “ข้อมูลอุปกรณ์>ข้อมูลสรุป” ตรงบรรทัดที่มีคำว่า ”สถานะอินเทอร์เน็ต”
- หากไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ กรุณาตรวจสอบค่า ชื่อผู้ใช้งาน PPPoE,รหัสผ่านผู้ใช้งาน, และ VLAN กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รวมถึงการตั้งค่าภายในต่างๆของทางฝั่งผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต